การปลูกฝังเรื่องค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ต้องปลูกฝังให้ลึกเข้าไปในจิตใจไม่ใช่สอนกันเพียงผิวเผิน การศึกษามีบทบาทในการเสริมสร้างค่านิยมและทัศนคติเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ได้อย่างไรบ้าง
1. ทำไมต้องมาพูดกันเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต เนื่องจากสภาพปัจจุบันมีปัญหามากมายอาทิเช่นธุรกิจนอกกฎหมาย การคอรัปชั่น การพนัน โสเภณี ฯลฯ เหตุเกิดเพราะความไม่ซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ นักการเมือง พ่อค้าและประชาชนกล่าวได้ว่า ความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ นักการเมือง พ่อค้า และ- ประชาชน กล่าวได้ว่า ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นต้นตอ และรากเหง้าของปัญหาหลาย ๆ อย่าง ถ้าคนเราเป็นคนดี มีความซื่อสัตย์สุจริต ปัญหาหลายอย่างจะไม่เกิด หรือเกิดก็ไม่มาก ถ้าข้าราชการซื่อสัตย์ไม่ทุจริต ก็จะไม่มีช่องทางให้คนอื่นอาศัยประโยชน์ ถ้านักการเมืองซื่อสัตย์เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมการกำหนดนโยบาย และการตัดสินใจก็จะเกิดผลดีกับประเทศชาติและประชาชน ถ้าพ่อค้านักธุรกิจ ซื่อสัตย์ไม่ติดสินบาทคาดสินบน ไม่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น ก็ไม่ทำให้คนอื่นพะวักพะวงเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ก็จะช่วยเฝ้าระวังไม่ให้เกิดคนกระทำผิดขึ้น จึงจำเป็นต้องคิดปลูกฝังเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตให้กับคนไทยทุกคน คนไทยทั้งชาติไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้หญิงหรือผู้ชาย คนรวยหรือคนจน ประชาชนหรือข้าราชการ เพื่อให้เป็นพื้นฐานความเจริญรุ่งเรืองของชาติไม่ใช่เพียงข้าราชการเท่านั้นที่ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต คนไทยทุกคนต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตด้วย
2. เราจะเริ่มปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริตเมื่อไร นิสัยความซื่อสัตย์สุจริตสร้างตั้งแต่แรกเกิดและเริ่มก่อตัวขึ้น จากความรักความอบอุ่นที่พ่อแม่ ญาติพี่น้องได้แสดงออกแก่เด็ก พ่อแม่จึงเป็นต้นแบบที่สำคัญในวัยเด็ก เมื่อถึงวัยเข้าสู่โรงเรียนถือครูเสมือนพ่อแม่คนที่สอง เด็กเชื่อในสิ่งที่ครูสอน ครูทำให้ดูเป็นตัวอย่างไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ก็ตามการปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติเรื่อความซื่อสัตย์สุจริต จึงเป็นบทบาทของครูทุกคนในโรงเรียน และผู้บริหารที่ต้องทำตนเป็นแบบอย่าง
3. การปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริตเป็นหน้าที่ของใคร องค์กรหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญคือ
3.1 ครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง ต้องช่วยกันดูแลสร้างและปลูกฝังจิตสำนึกนี้ด้วยการแนะนำสั่งสอน ทำตัวอย่างที่ดีให้กับคนในครอบครัวของตน
3.2 โรงเรียนและสถานศึกษา เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ให้การศึกษาอบรมบ่มนิสัยคือ ให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง การสร้างนิสัย การประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องหัวใจสำคัญของการศึกษา คือทำให้คนเป็นคนดีเป็นคนที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นทั้งต่อสังคมที่ตนอยู่อาศัย และต่อประเทศชาติ การปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตก็เหมือนกัน ต้องทำให้ผู้เรียน เกิดศรัทธา เชื่อในสิ่งที่ดีและปฏิบัติจนเป็นกิจนิสัย
3.3 สถาบันสังคมต่าง ๆ ต้องมีบทบาทส่งเสริมสนับสนุนการสร้างลักษณะนิสัยความซื่อสัตย์สุจริต วัดและองค์กรทางศาสนาต่าง ๆ ช่วยได้มากในการอบรมสร้างความเชื่อความศรัทธาให้เกิดขึ้น
4. การเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริต ผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งคงเป็นของโรงเรียนและสถานศึกษา ซึ่งมีหน้าที่หลักคือ การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความงอกงามในทุก ๆ ด้านอย่างมีดุลยภาพ คือต้องให้เด็กได้พัฒนาทั้งทางด้านจิตใจ ปัญญา ร่างกาย และทางสังคม ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นคุณลักษณะทางจิตใจ ประการหนึ่งที่พึงปลูกฝังพัฒนาให้เกิกับเด็กทุกคน แต่การพัฒนาคุณลักษณะด้านความซื่อสัตย์สุจริตก็ต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาทางด้านปัญญาคือ ความรู้ความเข้าใจและการพัฒนาทางร่างกาย และสังคม เช่นเดียวกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการพัฒนา นิสัยเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต จึงน่าจะมีกระบวนการ จัดการเรียนการสอนดังนี้
4.1 กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตทำได้โดยวิธีง่าย ๆ เช่น ข่าวเหตุการณ์ประจำวัน การเล่านิทาน ถ้าเด็กโตสามารถเล่าเรื่องจริงและมีรายละเอียดประกอบ ได้มากขึ้น
4.2 การยกย่องสรรเสริฐผู้ทำความดีต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ที่แสดงออกถึงความซื่อสัตย์สุจริต ควรยกย่อง
4.3 การให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า หาบุคคลตัวอย่างที่แสดงถึงความเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต โดยพูดคุยกับคนในชุมชนเพื่อหาคนที่ชุมชนยกย่องนับถือและศึกษาจากหนังสือและให้เด็กบอกเหตุผลในการเลือกบุคคลนั้นมาเป็นตัวอย่าง
4.4 ให้นักเรียนจัดนิทรรศการแสดงประวัติและความประพฤติของผู้เรียนที่นักเรียนยกย่อง ว่าเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต
4.5 โรงเรียนประกาศยกย่องนักเรียนหรือครูที่มีความซื่อสัตย์สิจริตให้ปรากฎแก่นักเรียน โดยทั่วไปทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น ฯลฯ
5. กิจกรรมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกความซื่อสัตย์สุจริต
5.1 การให้เห็นตัวอย่างที่ดีอย่างสม่ำเสมอ
5.2 ยกย่องสรรเสริญให้ขวัญและกำลังใจกับผู้ประกอบความดี เป็นต้น
แนวคิดและการประยุกต์ใช้จาก บทความ “การศึกษากับการเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริต”
การจะปลูกฝังให้เด็กไทยรุ่นใหม่เกิดความซื่อสัตย์สุจริต ต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วนเริ่มตั้งแต่ครอบครัวต้องให้ความรักความอบอุ่น และอบรมสั่งสอนต่อจากนั้นโรงเรียน โดยผู้บริหารและครูอาจารย์ ต้องปลูกฝังค่านิยมในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ให้เด็กทราบในรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ จึงนับว่าทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริตให้เกิดกับเด็กเพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในอนาคตของประเทศชาติต่อไป
วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ประวัติ
นายกิตติภพ คล้ายคาวิน ม.4/1 เลขที่2 ชื่อเล่น อุ้มอายุ 16 เลขบัตรประชาชน 1700400224609 โทร. 083-3117301 โรงเรียน ถาวรานุกูล ที่อยู่ บ้านเลขที่ 49 หมู่5 ต.บางกระบือ อ.บางคนที่ จ.สมุทรสงคราม วงดนตรีที่ชื่นชอบ : Bodyslam กีฬา : บาสเก็ตบอล เกม : DotA allstars Email : Kittiphob_21501@hotmail.com |
ฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์ (อังกฤษ: hard disk) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง
โดยในปี 2008 ได้มีการพัฒนาเป็น Hybrid drive และ SSD
ฮาร์ดดิสก์ที่มีกลไกแบบปัจจุบันถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน โดยมีความจุเริ่มแรกที่ 100kb มีขนาด 20 นิ้ว
ในปี ค.ศ. 1980 ฮาร์ดดิสก์เป็นสิ่งที่หายากและราคาแพงมาก แต่หลังจากนั้นฮาร์ดดิสก์กลายเป็นมาตรฐานของพีซีและราคาถูกลงมาก
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงของฮาร์ดดิสก์จากปี 1980 ถึงปัจจุบัน
ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 2 เทระไบต์
ปัจจุบันภายในปี 2551 มีประเภทของฮาร์ดดิสก์ต่อไปนี้
โดยในปี 2008 ได้มีการพัฒนาเป็น Hybrid drive และ SSD
เนื้อหา |
ประวัติ
ในปี ค.ศ. 1980 ฮาร์ดดิสก์เป็นสิ่งที่หายากและราคาแพงมาก แต่หลังจากนั้นฮาร์ดดิสก์กลายเป็นมาตรฐานของพีซีและราคาถูกลงมาก
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงของฮาร์ดดิสก์จากปี 1980 ถึงปัจจุบัน
- ความจุเพิ่มขึ้น จาก 3.75mb เป็น 1tb (1000gb)
- ขนาดเล็กลงกว่าเดิมมาก
- ราคาต่อความจุถูกลงมาก
- ความเร็วเพิ่มขึ้น
ขนาดและความจุ
- ขนาดความหนา 8 inch: 9.5 นิ้ว×4.624 นิ้ว×14.25 นิ้ว (241.3 มิลลิเมตร×117.5 มิลลิเมตร×362 มิลลิเมตร)
- ขนาดความหนา 5.25 inch: 5.75 นิ้ว×1.63 นิ้ว×8 นิ้ว (146.1 มิลลิเมตร×41.4 มิลลิเมตร×203 มิลลิเมตร)
- ขนาดความหนาขนาดความหนา 3.5 นิ้ว = 4 นิ้ว×1 นิ้ว×5.75 นิ้ว (101.6 มิลลิเมตร×25.4 มิลลิเมตร×146 มิลลิเมตร) = 376.77344cm³
- ขนาดความหนา 2.5 = 2.75 นิ้ว× 0.374–0.59 นิ้ว×3.945 นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร×9.5–15 มิลลิเมตร×100 มิลลิเมตร) = 66.3575cm³-104.775cm³
- ขนาดความหนา1.8 นิ้ว: 54 มิลลิเมตร×8 มิลลิเมตร×71 มิลลิเมตร= 30.672cm³
- ขนาดความหนา1 นิ้ว: 42.8 มิลลิเมตร×5 มิลลิเมตร×36.4 มิลลิเมตร
- ขนาดความหนา0.85 นิ้ว: 24 มิลลิเมตร×5 มิลลิเมตร×32 มิลลิเมตร
หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์
- หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี ความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์มีดังนี้
- สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก
- สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที
- แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.08 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 3000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น
- เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 60 GB ถึง 4 TB ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ : ไบต์คือรหัส แอสกี้ ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง โดยที่ไบต์จำนวนมากมาย รวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมา ผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป
- เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคือ
- อัตราการไหลของข้อมูล (Data rate) คือจำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 40 เมกะไบต์ต่อวินาที
- เวลาค้นหา (Seek time) เวลาที่ข้อมูลถูกส่งไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที
การเก็บข้อมูล
ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)