welcome to my web blog

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความซื่อสัตย์

 การปลูกฝังเรื่องค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ต้องปลูกฝังให้ลึกเข้าไปในจิตใจไม่ใช่สอนกันเพียงผิวเผิน การศึกษามีบทบาทในการเสริมสร้างค่านิยมและทัศนคติเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ได้อย่างไรบ้าง
               1. ทำไมต้องมาพูดกันเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต เนื่องจากสภาพปัจจุบันมีปัญหามากมายอาทิเช่นธุรกิจนอกกฎหมาย การคอรัปชั่น การพนัน โสเภณี ฯลฯ เหตุเกิดเพราะความไม่ซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ นักการเมือง พ่อค้าและประชาชนกล่าวได้ว่า ความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ นักการเมือง พ่อค้า และ- ประชาชน กล่าวได้ว่า ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นต้นตอ และรากเหง้าของปัญหาหลาย ๆ อย่าง ถ้าคนเราเป็นคนดี มีความซื่อสัตย์สุจริต ปัญหาหลายอย่างจะไม่เกิด หรือเกิดก็ไม่มาก ถ้าข้าราชการซื่อสัตย์ไม่ทุจริต ก็จะไม่มีช่องทางให้คนอื่นอาศัยประโยชน์ ถ้านักการเมืองซื่อสัตย์เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมการกำหนดนโยบาย และการตัดสินใจก็จะเกิดผลดีกับประเทศชาติและประชาชน ถ้าพ่อค้านักธุรกิจ ซื่อสัตย์ไม่ติดสินบาทคาดสินบน ไม่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น ก็ไม่ทำให้คนอื่นพะวักพะวงเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ก็จะช่วยเฝ้าระวังไม่ให้เกิดคนกระทำผิดขึ้น จึงจำเป็นต้องคิดปลูกฝังเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตให้กับคนไทยทุกคน คนไทยทั้งชาติไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้หญิงหรือผู้ชาย คนรวยหรือคนจน ประชาชนหรือข้าราชการ เพื่อให้เป็นพื้นฐานความเจริญรุ่งเรืองของชาติไม่ใช่เพียงข้าราชการเท่านั้นที่ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต คนไทยทุกคนต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตด้วย
               2. เราจะเริ่มปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริตเมื่อไร นิสัยความซื่อสัตย์สุจริตสร้างตั้งแต่แรกเกิดและเริ่มก่อตัวขึ้น จากความรักความอบอุ่นที่พ่อแม่ ญาติพี่น้องได้แสดงออกแก่เด็ก พ่อแม่จึงเป็นต้นแบบที่สำคัญในวัยเด็ก เมื่อถึงวัยเข้าสู่โรงเรียนถือครูเสมือนพ่อแม่คนที่สอง เด็กเชื่อในสิ่งที่ครูสอน ครูทำให้ดูเป็นตัวอย่างไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ก็ตามการปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติเรื่อความซื่อสัตย์สุจริต จึงเป็นบทบาทของครูทุกคนในโรงเรียน และผู้บริหารที่ต้องทำตนเป็นแบบอย่าง
               3. การปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริตเป็นหน้าที่ของใคร องค์กรหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญคือ
                   3.1 ครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง ต้องช่วยกันดูแลสร้างและปลูกฝังจิตสำนึกนี้ด้วยการแนะนำสั่งสอน ทำตัวอย่างที่ดีให้กับคนในครอบครัวของตน
                   3.2 โรงเรียนและสถานศึกษา เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ให้การศึกษาอบรมบ่มนิสัยคือ ให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง การสร้างนิสัย การประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องหัวใจสำคัญของการศึกษา คือทำให้คนเป็นคนดีเป็นคนที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นทั้งต่อสังคมที่ตนอยู่อาศัย และต่อประเทศชาติ การปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตก็เหมือนกัน ต้องทำให้ผู้เรียน เกิดศรัทธา เชื่อในสิ่งที่ดีและปฏิบัติจนเป็นกิจนิสัย
                   3.3 สถาบันสังคมต่าง ๆ ต้องมีบทบาทส่งเสริมสนับสนุนการสร้างลักษณะนิสัยความซื่อสัตย์สุจริต วัดและองค์กรทางศาสนาต่าง ๆ ช่วยได้มากในการอบรมสร้างความเชื่อความศรัทธาให้เกิดขึ้น
               4. การเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริต ผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งคงเป็นของโรงเรียนและสถานศึกษา ซึ่งมีหน้าที่หลักคือ การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความงอกงามในทุก ๆ ด้านอย่างมีดุลยภาพ คือต้องให้เด็กได้พัฒนาทั้งทางด้านจิตใจ ปัญญา ร่างกาย และทางสังคม ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นคุณลักษณะทางจิตใจ ประการหนึ่งที่พึงปลูกฝังพัฒนาให้เกิกับเด็กทุกคน แต่การพัฒนาคุณลักษณะด้านความซื่อสัตย์สุจริตก็ต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาทางด้านปัญญาคือ ความรู้ความเข้าใจและการพัฒนาทางร่างกาย และสังคม เช่นเดียวกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการพัฒนา นิสัยเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต จึงน่าจะมีกระบวนการ จัดการเรียนการสอนดังนี้
                  4.1 กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตทำได้โดยวิธีง่าย ๆ เช่น ข่าวเหตุการณ์ประจำวัน การเล่านิทาน ถ้าเด็กโตสามารถเล่าเรื่องจริงและมีรายละเอียดประกอบ ได้มากขึ้น
                  4.2 การยกย่องสรรเสริฐผู้ทำความดีต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ที่แสดงออกถึงความซื่อสัตย์สุจริต ควรยกย่อง
                  4.3 การให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า หาบุคคลตัวอย่างที่แสดงถึงความเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต โดยพูดคุยกับคนในชุมชนเพื่อหาคนที่ชุมชนยกย่องนับถือและศึกษาจากหนังสือและให้เด็กบอกเหตุผลในการเลือกบุคคลนั้นมาเป็นตัวอย่าง
                  4.4 ให้นักเรียนจัดนิทรรศการแสดงประวัติและความประพฤติของผู้เรียนที่นักเรียนยกย่อง ว่าเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต
                  4.5 โรงเรียนประกาศยกย่องนักเรียนหรือครูที่มีความซื่อสัตย์สิจริตให้ปรากฎแก่นักเรียน โดยทั่วไปทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น ฯลฯ
               5. กิจกรรมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกความซื่อสัตย์สุจริต
                   5.1 การให้เห็นตัวอย่างที่ดีอย่างสม่ำเสมอ
                   5.2 ยกย่องสรรเสริญให้ขวัญและกำลังใจกับผู้ประกอบความดี เป็นต้น

           
แนวคิดและการประยุกต์ใช้จาก บทความการศึกษากับการเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริต


               การจะปลูกฝังให้เด็กไทยรุ่นใหม่เกิดความซื่อสัตย์สุจริต ต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วนเริ่มตั้งแต่ครอบครัวต้องให้ความรักความอบอุ่น และอบรมสั่งสอนต่อจากนั้นโรงเรียน โดยผู้บริหารและครูอาจารย์ ต้องปลูกฝังค่านิยมในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ให้เด็กทราบในรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ จึงนับว่าทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริตให้เกิดกับเด็กเพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในอนาคตของประเทศชาติต่อไป

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติ

นายกิตติภพ คล้ายคาวิน ม.4/1 เลขที่2
ชื่อเล่น อุ้ม
อายุ 16 เลขบัตรประชาชน 1700400224609
โทร. 083-3117301
โรงเรียน ถาวรานุกูล
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 49 หมู่5 ต.บางกระบือ อ.บางคนที่
จ.สมุทรสงคราม
วงดนตรีที่ชื่นชอบ : Bodyslam
กีฬา : บาสเก็ตบอล
เกม : DotA allstars
Email : Kittiphob_21501@hotmail.com



ฮาร์ดดิสก์

ฮาร์ดดิสก์ (อังกฤษ: hard disk) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง
ฮาร์ดดิสก์ SSD

โดยในปี 2008 ได้มีการพัฒนาเป็น Hybrid drive และ SSD

เนื้อหา 


 ประวัติ

ชิ้นส่วนภายใน ในปี 1997
ฮาร์ดดิสก์ที่มีกลไกแบบปัจจุบันถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน โดยมีความจุเริ่มแรกที่ 100kb มีขนาด 20 นิ้ว
ในปี ค.ศ. 1980 ฮาร์ดดิสก์เป็นสิ่งที่หายากและราคาแพงมาก แต่หลังจากนั้นฮาร์ดดิสก์กลายเป็นมาตรฐานของพีซีและราคาถูกลงมาก
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงของฮาร์ดดิสก์จากปี 1980 ถึงปัจจุบัน
  • ความจุเพิ่มขึ้น จาก 3.75mb เป็น 1tb (1000gb)
  • ขนาดเล็กลงกว่าเดิมมาก
  • ราคาต่อความจุถูกลงมาก
  • ความเร็วเพิ่มขึ้น

 ขนาดและความจุ

แนวโน้มในการเพิ่มขึ้นของการพัฒนาฮาร์ดดิสก์
ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 2 เทระไบต์
  • ขนาดความหนา 8 inch: 9.5 นิ้ว×4.624 นิ้ว×14.25 นิ้ว (241.3 มิลลิเมตร×117.5 มิลลิเมตร×362 มิลลิเมตร)
  • ขนาดความหนา 5.25 inch: 5.75 นิ้ว×1.63 นิ้ว×8 นิ้ว (146.1 มิลลิเมตร×41.4 มิลลิเมตร×203 มิลลิเมตร)
ขนาดฮาร์ดดิสในอดีต
รุ่นและขนาดฮาร์ดดิสตั้งแต่ 8″ 5.25″ 3.5″ 2.5″ 1.8″ และ 1″
ปัจจุบันภายในปี 2551 มีประเภทของฮาร์ดดิสก์ต่อไปนี้
  • ขนาดความหนาขนาดความหนา 3.5 นิ้ว = 4 นิ้ว×1 นิ้ว×5.75 นิ้ว (101.6 มิลลิเมตร×25.4 มิลลิเมตร×146 มิลลิเมตร) = 376.77344cm³
เป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ Desktop PC หรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ Server ความเร็วในการหมุนจาน 10,000 7,200 5,400 RPM ตามลำดับ โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 80 GB ถึง 2 TB
  • ขนาดความหนา 2.5 = 2.75 นิ้ว× 0.374–0.59 นิ้ว×3.945 นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร×9.5–15 มิลลิเมตร×100 มิลลิเมตร) = 66.3575cm³-104.775cm³
นิ้วเป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา Notebook , Laptop ,UMPC,Netbook, อุปกรณ์มัลติมีเดียพกพา ความเร็วในการหมุนจาน 5,400 RPM โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 60 GB ถึง 320 GB
  • ขนาดความหนา1.8 นิ้ว: 54 มิลลิเมตร×8 มิลลิเมตร×71 มิลลิเมตร= 30.672cm³
  • ขนาดความหนา1 นิ้ว: 42.8 มิลลิเมตร×5 มิลลิเมตร×36.4 มิลลิเมตร
  • ขนาดความหนา0.85 นิ้ว: 24 มิลลิเมตร×5 มิลลิเมตร×32 มิลลิเมตร
ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่างๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมากที่เรียกว่าเทคโนโลยี RAID รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS network attached storage เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาทำเป็นเครื่อข่ายส่วนตัว และระบบ SAN storage area network เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บข้อมูล

 หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์

ภายในฮาร์ดิสก์
  • หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี ความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์มีดังนี้
    • สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก
    • สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที
    • แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.08 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 3000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
    • ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 60 GB ถึง 4 TB ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ : ไบต์คือรหัส แอสกี้ ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง โดยที่ไบต์จำนวนมากมาย รวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมา ผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป
  • เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคือ
    • อัตราการไหลของข้อมูล (Data rate) คือจำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 40 เมกะไบต์ต่อวินาที
    • เวลาค้นหา (Seek time) เวลาที่ข้อมูลถูกส่งไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที

การเก็บข้อมูล


การเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์
ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น